วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ใบงานหน้าที่ชาวพุทธ

          ให้นักเรียนอธิบายหน้าที่ของชาวพุทธที่มีต่อตนเอง  สังคม และพระพุทธศาสนา

หน้าที่ชาวพุทธ

        ความหมายของหน้าที่ชาวพุทธ
        หน้าที่  หมายถึง  กิจที่ต้องทำ  กิจที่ควรทำ
        ชาวพุทธ   หมายถึง  บุคคลผู้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาโดยนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
        หน้าชาวพุทธ   หมายถึง  กิจ หรือภาระหน้าที่ที่ชาวพุทธ หรือบุคคลผู้ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า
พึงควรกระทำ
        ประเภทของชาวพุทธ  แบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม เรียกว่าพุทธบริษัท 4 ได้แก่
        1.  กลุ่มนักบวช  ได้แก่
             กลุ่มภิกษุ      คือ  นักบวชชาย  
             กลุ่มภิกษุณี  คือ นักบวชหญิง
        2.  กลุ่มชาวบ้าน ได้แก่
             อุบาสก  คือ กลุ่มผู้ชายที่นับถือพระพุทธศาสนา
             อุบาสิกา คือ กลุ่มผู้หญิงนับถือพระพุทธศาสนา
       ความสำคัญของชาวพุทธ  มีหน้าที่ปกป้องดูแล และเผยแพร่พระพุทธศาสนา

       หน้าที่ชาวพุทธที่มีต่อตนเองและพระพุทธศาสนา
       1.  หน้าที่ในการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา จุดหมายของการศึกษาอบรม คือ การพัฒนาตนเองใน  4  ด้าน  ได้แก่
            1.1  ด้านร่างกาย  เป็นการศึกษาเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมที่ต้องปฏิบัติ และสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
            1.2  ด้านสังคม  เป็นการศึกษาเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมในการปรับตัว ปรับพฤติกรรมเพื่อให้อยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้
            1.3  ด้านจิตใจ การเตรียมใจของตนให้พร้อม มีความหนักแน่น  มั่นคงไม่หวั่นไหวตามกระแสสังคมหรือกิเลส
            1.4  ด้านปัญญา เป็นเป้าหมายสูงสุดในการศึกษาหลักธรรมคำสอน คือการพัฒนาตนเองตามหลักการพระพุทธศาสนา  ปัญญาคือการรู้แจ้ง  คิดรอบคอบ
         2. หน้าที่ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา  โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ
             2.1  พัฒนาตนเองสู่การเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม โดยนำหลักเบญจศีล  เบญจธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นคนดี
             2.2  เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นชาวพุทธที่ดี เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และร่วมถึงการปฏิบัติตามพิธีกรรมของศาสนาด้วย
         3. ทำนุบำรุงพุทธศาสนา  ได้แก่ สร้างศาลาการเปรียญ โบสถ์  วิหาร
         4.  อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุ  สามเณร  ซึ่งเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าได้มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย  ฝึกฝนสมาธิ  วิปัสนากรรมฐาน
         5.  หน้าที่ในการปกป้องพระพุทธศาสนา  คือการปกป้องพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์

         วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา      
         1.  วันมาฆบูชา  (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)  เป็นวันที่พระสงฆ์ที่ไปประกาศศาสนาในที่ต่าง ๆ ได้กลัมมาเฝ้าพระพุทธเจ้าอย่างพร้อมเพียง เรียกว่าจาตุรงคสันนิบาต แปลว่าการประชุมพรัอมกันด้วยองค์ 4 คือ (1) เป็นวันที่พระสงฆ์   สาวก ของพระพุทธเจ้า จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารโดยมิได้นัดหมาย (2) พระภิกษุ  สงฆ์ เหล่านี้ล้วนเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยพระพุทธเป็นผู้อุปสมบทโดยตรง (3)  ภิกษุ  สงฆ์ ที่มาประชุมครั้งนี้ เป็นผู้บรรลุอรหันต์แล้วทั้งสิ้น (4) เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงเสวยมาฆฤกษ์
         2.  วันวิสาขบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ  เดือน 6) เป็นวันคล้ายวันพระสูตร  ตรัสรู้  ปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า
         3.  วันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน  8)  เป็นวันที่พระรัตนตรัยขึ้นครบองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม   พระสงฆ์
         4.  วันเข้าพรรษา  (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8)  เป็นวันที่พระสงฆ์ภิกษุ  สงฆ์ ประจำอยู่ที่ใดที่หนึ่ง
เป็นเวลา  3  เดือน ในฤดูฝน
         5.  วันออกพรรษา  (วันขึ้น 15 ค่ำ  เดือน  11)  วันสิ้นสุดระยะเวลาการจำพรรษา มีการตักบาตรโทโว

         การปฏิบัติตนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
        1.  ทำบุญตักบาตรในตอนเช้า  บ่ายฟังเทศ
        2.  เวียนเทียนรอบพระอุโบสถ
        3.  ประดับธงชาติ และธงธรรมจักร